วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558


สัปดาห์ที่ 4

ระบบการเรียนการสอนของคลอสเมียร์และริปเปิล


คลอสเมียร์ และริปเปิล (Klausmeier; & Ripple. 1971: 11) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ 7 ส่วน คือ

1. การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน

 คือจุดที่ต้องพยายามไปให้ถึงเป็นสิ่งที่หวังไว้ในอนาคต เป็นเครื่องบอกทิศทางให้ผู้ทำงานอย่างหนึ่งพยายามไปให้ถึงจุดนั้น  เปรียบเสมือนผู้กำหนดทิศทาง ดังนั้นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาจึงเป็นการกำหนดทิศทางของกิจกรรมทางการศึกษาให้ได้ดังที่พึงประสงค์ไว้  

2. การพิจารณาความพร้อมของผู้เรียน

การสังเกตความพร้อมของผู้เรียนเป็นสิ่งสำคัญที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียนว่าจะมีความสนใจและพร้อมในการเรียนรู้ของหลักวิชานั้นๆ

3. การจัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ

ความตั้งใจของนักเรียนและครู ครูต้องเตรียมการสอนล่วงหน้า ทั้งสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ใบงาน ใบความรู้และกิจกรรมเสริม ตามที่คู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมกำหนด รวมทั้งมอบหมายงานให้นักเรียนเตรียมพร้อมในการเรียนครั้งต่อไป

4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ  ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป

5. การดำเนินการสอน
เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีการเรียนรู้จากการสร้างสิ่งที่มีความหมายกับตนเอง ผู้สอนจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่มดังนั้นการสอนลักษณะนี้จะเน้นการสอนโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ 

6. การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน
 การวัดผลการ (Measurement) หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่างๆโดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง) วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง)
การทดสอบการศึกษา หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมาการประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การตัดสิน หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม. ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก
ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา

7. สัมฤทธิ์ผลของนักเรียน
 ผลที่เกิดจากกระบวนการเรียนการสอนที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถวัดได้โดยการแสดงออกมาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย


ที่มา: Klausmeier; & Ripple. (1971). Learning and Human 

Abilities: Educational Psychol



วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

E - Teacher

 

 ในประเทศพัฒนาแล้วได้ใช้การเรียนการสอนรูปแบบนี้กันมากเพื่อให้นักเรียนหันมาค้นคว้าศึกษาด้วยตนเอง เวลาไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ และใครก็ได้ สำหรับประเทศไทย
รัฐบาล ก็ได้มีแนวนโยบายยกระดับของครู เช่น ครู ต้นแบบ ครูแห่งชาติ แต่ตอนนี้ยังไม่มีใครใช้คำว่า e-Teacher คงขอใช้คำภาษาอังกฤษ เพราะคำไทยคงฟังไม่ค่อยสุภาพเท่าไรและยังไม่ทราบจะมีความหมายเป็นภาษาไทยเฉพาะว่าอย่างไรดี

           คำอธิบายลักษณะของ e-Teacher พื่อเป็นข้อเสนอแนะให้รัฐบาลหาแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาควบคู่ไปกับเทคโนโลยีในการพัฒนาครูในชาติให้เป็นครู่ที่มีความกระตือรือร้นและสร้างสรรพร้อมที่
จะเป็นครูต้นแบบ ให้กับสังคม แต่สิ่งแรกที่เราต้องทำคือเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้ของครู จึงจะปฏิวัติอะไรหลาย ๆ อย่างได้ จะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับให้นักเรียนทำตาม และเราควรจะเน้นทั้งครูและ
นักเรียนควบคู่กันไป ปัจจุบันนักเรียนเก่งกว่าครูเสียอีกในการใช้ไอที อีกทั้งนโยบายการศึกษาในประเทศไทยต้องการยกระดับครูให้มีทักษะด้านไอที เร่งผลิตฐานความรู สนับสนุนไอทีเพื่อยกระดับความสามารถของครูและคนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ในเรื่องของนักเรียนก็ได้มีคนกล่าวไว้มาพอสมควรแล้ว ดังนั้นจึงขอเสนอแนวคิดว่า
e-Teacher ควรมีคุณลักษณะเฉพาะอย่างไรบ้าง


 ลักษณะของ e-Teacher สรุปเป็น 9 ประการ ดังนี้
        1. Experience   ครูควรสร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ในการใช้ เครื่องมือต่าง ๆ เช่น Internet e-Mail การใช้ CD จากเดิมที่ไม่เคยมีความรู้ในการ
ใช้เทคโนโลยีมาก่อน เมื่อเริ่มได้มีประสบการณ์ก็สามารถที่จะมีแนวคิดและขยายผลได้อย่างต่อเนื่อง คือ เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีให้เป็น


        2. Extended   ครูควรค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลาเพราะเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ไหนก็ได้ถ้าโครงสร้างพื้นฐานไปถึง เป็นครูที่ใช้เวลา
ว่างให้เป็นประโยชน์ ในการหาความรู้ด้วยเทคโนโลยี

        3. Expanded   ครูที่ใช้ความรู้ในการขยายผลของความรู้นั้นสู่นักเรียน ประชาชนทั่วไป และชุมชน สามารถถ่ายทอดความรู้ลง CD VDO โทรทัศน์หรือ บน web เพื่อให้เกิดการเพิ่มความรู้ที่เป็นประโยชน์ของบุคลากรโดยรวม

        4. Exploration   ครูที่สามารถเลือกเนื้อหาที่ทันสมัย เอกสารอ้างอิง ค้นคว้าทั้งสาระและบันเทิงเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรเพื่อนำมาออกแบบการเรียนการสอน

        5. Evaluation   ครูเป็นนักประเมินที่ดี สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล เช่น ในการถามและตอบปัญหาต่าง ๆ และประเมินว่าเทคโนโลยีอันไหนที่เหมาะกับการเรียนการสอนแบบไหน เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีใช้ได้กับการเรียนทุกรูปแบบ

        6. End-User   ครูเป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ที่มีคุณค่าบนอินเทอร์เน็ตและเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย

        7. Enabler   ครูสามารถที่ใช้เทคโนโลยีได้ สร้างบทเรียนและเนื้อหาเพิ่มเติมมาใช้ในการประกอบการเรียนการสอน สามารถใช้ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์มาสร้างบทเรียน อย่างน้อยที่สุดก็สามารถสร้างการนำเสนอเนื้อหาด้วย Power Piont เป็นการจูงใจให้ นักเรียนสนใจในการเรียนมากขึ้น หรือการใช้
Authoring tool ต่าง ๆ มาสร้าง บทเรียนในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์


        8. Engagement   เป็นลักษณะครูที่ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความเห็น หาแนวร่วม เพื่อให้เกิดชุมชน เช่น การคุยกันบน web ทำให้มีความคิดใหม่ ๆ มีข้อเสนอแนะ เกิดชุมชนครูบน web

        9. Efficient and Effective   ครูที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลคือ ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจายและผู้ใช้ความรู้ เหมือนก
ันกับการรวม 8e ม าไว้ด้วยกัน

สำหรับตัวข้าพเจ้าแล้ว สิ่งที่ขาดใน 9 อย่างนี้ คือ Efficient and Effective  เพราะยังใช้เทคโนโลยีทางการสื่อสารยังไม่ชำนาญ จึงเป็นอุปสรรคที่ทำให้สร้างข้อมูลทางเว็บค่อนข้างไม่สมบรูณ์ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงอยากพัฒนาในส่วนนี้ให้มาก


ที่มาของข้อมูล  http://www.hu.ac.th/


วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 2


สัปดาห์ที่ 2 เรื่อง ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ" การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
1.
 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1.หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2.หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4.หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สัปดาห์ที่ 1 คำว่า "ครู"

T = Teaching   
       หมายถึง ครูทำหน้าที่สอนและถ่ายทอดความรู้

E = Ethic         
       หมายถึง ครูเป็นผู้มีคุณธรรม มีเมตตาธรรมประจำใจ

A = Academic 
       หมายถึง ครูที่เป็นนักวิชาการที่มีความรอบรู้และใฝ่หาความรู้อยู่เป็นนิจ

C = Cultural Heritage   
       หมายถึง ครูเป็นผู้รู้คุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ   และทำหน้าที่ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมดังกล่าวไปสู่คนรุ่นหลัง

H = Human Relationship   
       หมายถึง ครูเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และเป็นผู้มีสุขภาพที่ดี

E = Evaluation   
       หมายถึง ครูคือผู้รู้และเข้าใจเรื่องการวัดและประเมินผลเป็นอย่างดี เพราะการวัดและประเมินผลนั้น ครูต้องใช้อยู่ตลอดเวลาในกระบวนการเรียนการสอน

R = Research
       หมายถึง ครูคือผู้ค้นคว้าวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ๆ และสามารถนำผลวิจัยที่ผู้อื่นทำไว้แล้วไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

S = Service 
       หมายถึง ครูคือผู้ให้บริการด้านอื่นนอกเหนือจากการสอน เช่น บริการแนะแนว บริการด้านสวัสดิการในโรงเรียน รวมถึงการบริการทางวิชาการแก่ชุมชนอีกด้วย


ที่มาบทความ : หนังสือสารัตถะจิตวิทยาการศึกษา รศ.ดร.ประสาท อิศรปรีดา