วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558


สัปดาห์ที่ 5 


 การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education)




ความหมายของ การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education)
          การศึกษาของประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่เป็นการศึกษาที่มุ่ง ใส่” เนื้อหาให้ผู้เรียน (Input-based Education) เราคิดว่านักเรียนนักศึกษาควรจะต้องมีความรู้อะไร เราก็จะ ใส่ความรู้ (Input) เข้าไป โดย วิธีการ บรรยาย” ให้ฟัง และบังคับให้จำด้วยการ สอบ” การเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษาไทยจึงเป็นหรือ การเรียนรู้จากการฟังบรรยาย (Lecture-based Learning) โดยอาจารย์เป็นศูนย์กลางของการศึกษา (Teacher-centered) การศึกษาเช่นนี้มุ่งการ จ า” ไม่ได้มุ่งที่การ คิด” เพราะถ้าหากว่า คิด” แล้วไม่เหมือนอาจารย์และตอบข้อสอบต่างจากที่อาจารย์สอนก็จะไม่ได้คะแนน สิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่า สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นทั้งหมดในโลกใบนี้ ก็เพราะมนุษย์มีความสามารถในการ คิด” เมื่อคิดเป็นก็วิเคราะห์ ปัญหาได้หาสาเหตุได้และหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ แต่เรากลับให้นักเรียนนักศึกษาของเรา จำโดยไม่ มุ่งให้ คิด” การศึกษาไทยจึงไม่สามารถสร้าง คน” ที่มีความเข้มแข็งให้กับสังคมได้ต่อให้มีความรู้ก็ใช้ ความรู้ไม่เป็น และมักจะใช้ความรู้โดยไม่รับผิดชอบ
         
สมรรถนะ ด้าน ที่ต้องประเมิน
ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ความสามารถในการสื่อสาร
ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ความสามารถในการคิด
ความสามารถในการแก้ปัญหา
ทักษะที่สำคัญใน ศตวรรษที่ 21





     1 ทักษะการเรียน
        - นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ 
        - การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา
        - การสื่อสารและการร่วมมือกัน

     2 ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี
        - การอ่านออกเขียนได้ด้านข้อมูลข่าวสาร สื่อ และ ICT

     3 ทักษะการใช้ชีวิต
       - ทักษะที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวได้ ริเริ่มและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 
       - ทักษะทางสังคมและก้าวข้ามวัฒนธรรม 
       - มีความรับผิดชอบ 
       - สามารถผลิตสร้างสรรค์งานได้ 

Thinking Development
Analytical Thinking (การคิดวิเคราะห์)
System Thinking (การคิดเป็นระบบ)
Critical Thinking (การคิดสังเคราะห์)
Reflective Thinking (การสะท้อนคิด)
          Logical Thinking (การคิดแบบตรรกะ)
 Analogical Thinking (การคิดเชิงเปรียบเทียบ)
Practical Thinking (การคิดแบบลงมือปฏิบัติ)
Deliberative Thinking (การคิดแบบบูรณาการ)
Creative Thinking (การคิดสร้างสรรค์)
Team Thinking (การคิดเป็นทีม)


สรุป

          การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์  ผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและแนวทางของตัวผู้สอนเอง สิ่งที่ต้องทำคือ การลงมือทำ” ซึ่งเปรียบเหมือนกับการทำอาหาร ที่ไม่มีใครทำอาหารเป็นมาตั้งแต่เกิด ในตอนแรกที่เรายังทำอาหารไม่เป็น ก็ต้องเปิด ตำราทำอาหาร” และทำตามขั้นตอนที่เขียนไว้ในตำรา โดยพ่อครัวหรือแม่ครัวสามารถ ปรุง” ให้เหมาะสมและถูกปากผู้รับประทานได้ เมื่อทำไปเรื่อย ๆ แล้วก็จะค่อย ๆ ทำอาหารเป็น จึงเกิดการเรียนรู้และ ทักษะ จนกระทั่งทำอาหารข้าวเป็นด้วยตนเอง 





2 ความคิดเห็น: